Korean EP.3 | ตัวบ่งชี้คำ (ประธาน และ กรรม)

.

heaader

ในภาษาเกาหลี จะมีคำอยู่หนึ่งประเภทซึ่งเรียกว่า “ตัวบ่งชี้หน้าที่”
ซึ่งมีหน้าที่บ่งบอกคำที่อยู่ด้านหน้ามันว่าทำหน้าที่อะไร
อาทิเช่น เป็นประธาน กรรม สถานที่ เวลา เป็นต้น

คำบ่งชี้ประธาน이 (อี) , 가 (กา) , 은(อึน) และ 는(นึน)

• 이 (อี) ใช้กับคำนาม ที่มีตัวสะกด อาทิเช่น
ตัวอย่าง 왕자님 너무 잘 생겼다. แปลว่า องค์ชาย/เจ้าชายหล่อมาก

• 가 (กา) ใช้กับคำนาม ที่ไม่มีตัวสะกด อาทิเช่น
ตัวอย่าง 영화 재미있읍니다. แปลว่า ภาพยนตร์สนุก

• 은(อึน) ใช้ตามหลังคำนามที่มีตัวสะกด
ตัวอย่าง 형 먹어요. แปลว่า พี่ชายกิน

• 는(นึน) ใช้ตามหลังคำนามที่มีไม่มีตัวสะกด
어머니 자요. แปลว่า แม่นอน

** ปล. ทั้ง 4 คำบ่งชี้นั้นสามารถใช้แทนกันและกันได้
แต่จะมีความหมายและการใช้แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
คือ 은(อึน) และ 는(นึน) นั้น จะเน้นความในตัวประธานมากกว่า

โดยที่มี 6 ข้อหลักๆของการใช้ดังนี้
1. ตามหลังคำนาม เพื่อแสดงว่าทำหน้าที่เป็นประธานในประโยค
뱀뱀 태국에서 오셨습니다. แบมแบมมาจากประเทศไทย

2. ตามหลังคำนาม เมื่อต้องการนำสิ่งที่เคยพูดไปแล้วมาเป็นหัวข้อสนทนาครั้งต่อไป
저는 라면늘(ชี้กรรม) 좋아요. 라면는 정말 맛있어요.
ฉันชอบรามยอน รามยอนนั้นอร่อยมากๆ

3. ตามหลังคำนาม เพื่อเน้นย้ำความสำคัญมากขึ้น
태국 열대 국가입니다. ประเทศไทยเป็นประเทศเขตร้อน

4. ตามหลังคำนาม เมื่อเปรียบเทียบระหว่างสองสิ่งขึ้นไป
어제 추웠는데, 오늘은 따뜻하다. แปลว่า เมื่อวานนี้หนาว แต่วันนี้ร้อน

5. ตามหลังคำนาม คำวิเศษณ์ เพื่อเน้นย้ำพฤติกรรม
시간 많지는 않아요. แปลว่า เวลานั้นมีไม่มาก

6. ในภาษาพูดเราจะลดรูปประโยค 는 > เหลือเพียงเป็นแค่ตัวสะกด
เช่น 저 태국사람 입나다. เหลือเพียง 전 태국사람 입나다.
แปลว่า ฉันเป็นคนไทย

ตัวบ่งชี้กรรม 을(อึล) และ 늘(นึล)

หลังจากที่รู้ตัวบ่งชี้ประธานเรียบร้อยแล้ว อีกหนึ่งตัวบ่งชี้ที่สำคัญนั้นก็คือ ตัวบ่งชี้กรรม
เพื่อให้รู้ว่าคำนามนี้นั้นคือกรรม(ผู้ทุกกระทำในประโยค)

• 을(อึล) ใช้ตามหลังคำนาม(กรรม) ที่มีตัวสะกด
ตัวอย่างเช่น 밥 먹어요. กินข้าว

• 늘(นึล) ใช้ตามหลังคำนาม(กรรม) ที่มีไม่มีตัวสะกด
오빠 한국어 공부합니다. พี่ชายเรียนภาษาเกาหลี

.